วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

สรุปผลงานวิจัยและพัฒนา

เรื่องการศึกษาผลของการสอนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการ S-P-K-C ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดดอนมะโนรา
TITITLE A STUDY ON EFFECTS OF SCIENCE INSTRUCTION BY S-P-K-C
PROCESS UPON ACHIEVEMENT OF MATHAYOM SUKSA II STUDENTS WATDONMANORA SCHOOL.
คำสำคัญ กระบวนการ S-P-K-C
ผู้วิจัย นายเสวก สินประเสริฐ
RESEARCHER MR.SAWAKE SINPRASERT
ตำแหน่ง ครู ค.ศ.4 โรงเรียนวัดดอนมะโนรา(รังสิยานุกูล)
วิทยะฐานะ ครูเชี่ยวชาญสาขาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
วุฒิการศึกษา ศึกษาศาสตรบัณฑิต ศษ.บ.(เกียรตินิยมอันดับ 2) เอกประถมศึกษา
ศึกษาศาสตรบัณฑิต ศษ.บ. เอกวิทยาศาสตร์
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ศษ.ม.เอกมัธยมศึกษา(วิทยาศาสตร์)
สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ 91 หมู่ 3 ต.บางกระบือ อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม 75120
ผู้วิจัยร่วม ไม่มี
ระยะเวลาทำวิจัย ปี 2545
ประเภทงานวิจัย งานวิจัยของโรงเรียนวัดดอนมะโนรา(รังสิยานุกูล) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ความเป็นมา / ปัญหา
การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎี ทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะกระบวนการที่สำคัญที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ พัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา สร้างสรรค์ความรู้และเทคโนโลยีขึ้นใหม่ เพื่อประโยชน์ต่อสังคมและคุณภาพชีวิต
จากผลการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดดอน มะโนรา ปีการศึกษา 2544 พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่สูงเท่าที่ควร ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปัญหาที่ควรดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว ผู้วิจัยจึงทำการวิเคราะห์ถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาว่าเกิดจากอะไร พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมานั้นผู้สอนใช้วิธีการสอนที่เน้นกระบวนการที่สำคัญได้แก่กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากเกินไปไม่มีการบูรณาการกระบวนการต่างๆเข้าด้วยกันเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย
และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ผู้วิจัยจึงศึกษาค้นคว้าวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนบรรลุถึงจุดมุ่งหมายดังกล่าวข้างต้น และ พบว่ากระบวนการ S-P-K-C เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่น่าจะช่วยให้การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าวข้างต้นนี้ได้
ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาว่ากระบวนการ S-P-K-C จะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้านพุทธิพิสัย สูงขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร

หลักการและแนวคิดในการพัฒนา
กระบวนการ S-P-K-C คือกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ S - Stimulate หมายถึง เร้าความสนใจ P - Process หมายถึง ใช้กระบวนการ K - Knowledge หมายถึง สานก่อองค์ความรู้ C - Creative หมายถึง นำสู่การสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ มีทักษะกระบวนการที่สำคัญที่ใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ พัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การสร้างสรรค์ความรู้ และเทคโนโลยีขึ้นใหม่ สามารถนำไปทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการนำกระบวนการนี้ไปใช้นั้น จะต้องนำไปสอดแทรกในขั้นตอนการสอนในแผนการจัดการเรียนรู้

วัตถุประสงค์ในการวิจัย
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้านพุทธิพิสัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยกระบวนการ S-P-K-C

ระเบียบวิธีวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้แบบแผนการศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ดังนี้

O1 X O2
กลุ่มทดลอง

O1 แทนการสอบก่อนการทดลอง
O2 แทนการสอบหลังการทดลอง
X แทนการสอนด้วยกระบวนการ S – P – K – C

สมมติฐานการวิจัย
นักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการ S-P-K-C มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดดอนมะโนรา(รังสิยานุกูล) อำเภอคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
2. กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2545
โรงเรียนวัดดอนมะโนรา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 30 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาจากการเลือกอย่างเจาะจง (purposive sampling) โดยเลือกจากนักเรียนทั้งหมดที่มีอยู่ใน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชา ว 203 โดยใช้กระบวนการ S-P-K-C
ตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน
ตัวแปรควบคุม ได้แก่เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง เป็นเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง 2533) ว 203 เรื่องกลไกมนุษย์

นิยามศัพท์
1. กระบวนการ (Process) หมายถึง การกระทำหลายการกระทำ ซึ่งทำต่อเนื่องกันไปเป็นชุด (Series) เพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง
2. การสอนโดยใช้กระบวนการ S-P-K-C หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 S - Stimulate หมายถึง เร้าความสนใจ
ขั้นตอนที่ 2 P - Process หมายถึง ใช้กระบวนการ
ขั้นตอนที่ 3 K - Knowledge หมายถึง สานก่อองค์ความรู้
ขั้นตอนที่ 4 C - Creative หมายถึง นำสู่การสร้างสรรค์
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หมายถึง คะแนนที่วัดได้จากการทำแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องกลไกมนุษย์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก วัดพฤติกรรม 4 ด้าน คือ ด้านวามรู้ความจำ ความเข้าใจ ทักษะกระบวน-การทางวิทยาศาสตร์ และการนำไปใช้ ด้านละ 20 ข้อ รวมจำนวน 80 ข้อ

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านพุทธิพิสัยเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก วัดพฤติกรรม 4 ด้าน คือ ด้านวามรู้ความจำ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการนำไปใช้ ด้านละ 20 ข้อ รวมจำนวน 80 ข้อ

วิธีการรวบรวมข้อมูล
1. ทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องกลไกมนุษย์ โดยทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบจำนวน 80 ข้อ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
2. ดำเนินการสอนกลุ่มทดลองโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ S – P – K – C เรื่องกลไกมนุษย์ จำนวน 16 คาบ
3. ทำการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเรื่องกลไกมนุษย์ โดยใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียน
4. วิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของทั้งสองกลุ่มว่ามีความแตกต่างกับสมมติฐานหรือไม่ โดยใช้การทดสอบค่าที ชนิดตัวแปรสัมพันธ์กัน ( t – dependent) จากสูตร

t =





D = ผลต่างของคะแนนหลังและก่อนเรียน
= ผลรวมของผลต่างคะแนนหลังและก่อนสอน
2 = ผลรวมของผลต่างคะแนนหลังและก่อนสอนยกกำลัง2
N = จำนวนตัวอย่างประชากร
N - 1 = คำของความเป็นอิสระ
สรุปผลการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้านพุทธิพิสัยของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยกระบวนการ S-P-K-C แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 กล่าวคือคะแนนเฉลี่ยสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงว่ากระบวนการ S-P-K-C เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่มีผลทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้
1.1 การนำกระบวนการS-P-K-Cไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนควรพิจารณาให้เหมาะสมกับเนื้อหาที่ใช้สอน
1.2 การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ S-P-K-C มีกิจกรรมต่างๆนอกเหนือจากแผนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอีกจำนวนมาก ก่อนนำไปใช้ควรศึกษาค้นคว้าและสร้างสรรค์เพิ่มเติม
2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการวิจัยเปรียบเทียบผลการใช้กระบวนการ S-P-K-C กับนักเรียน 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน อาจเป็นโรงเรียนเดียวกันหรือต่างโรงเรียน
2.2 ควรมีการศึกษาผลของการสอนโดยใช้กระบวนการ S-P-K-C กับตัวแปรอื่นๆ เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
2.3 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนโดยใช้กระบวนการ S-P-K-C กับกระบวนการสอนอื่นๆ หรือวิธีสอนแบบอื่นๆ
2.4 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบผลของการสอนโดยใช้กระบวนการ S-P-K-C ซ้ำกับประชากรกลุ่มอื่นๆ ในระดับต่างๆ หรือกับเนื้อหาวิทยาศาสตร์ในเรื่องอื่นๆ เพื่อจะได้ข้อมูล และผลการวิเคราะห์ใหม่ ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เพื่อหาข้อสรุปในโอกาสต่อไป

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2550

ประกาศ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา

ประกาศ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา
เรื่อง สอบราคาซื้อ ครุภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
ประกาศ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา
เรื่อง สอบราคาซื้อ ครุภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
ด้วย โรงเรียนวัดดอนมะโนรา ได้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามคำสั่ง ที่ 22/2546 สั่ง ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2546 มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อครุภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ตามรายการ โดยไม่ผูกพันงบประมาณไว้ก่อน ดังนี้
1. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ประมวลผลทั่วไป(สำหรับนักเรียน) จำนวน 20 เครื่อง
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server Computer) จำนวน 1 เครื่อง
3. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ประมวลผลระดับสูง(สำหรับครู ) จำนวน 1 เครื่อง
4. อุปกรณ์กระจายสัญญาณ(Switch) จำนวน 1 ชุด
5. เครื่องสำรองไฟสำหรับเครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง
6. เครื่องสำรองไฟสำหรับเครื่องประมวลผลระดับสูง จำนวน 1 เครื่อง
7. เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์สำหรับเครือข่าย จำนวน 1 เครื่อง
8. โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย(สำหรับครู) จำนวน 1 ตัว
9. เก้าอี้คอมพิวเตอร์(สำหรับครู) จำนวน 1 ตัว
10. โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย(สำหรับนักเรียน) จำนวน 20 ตัว
11. เก้าอี้คอมพิวเตอร์(สำหรับนักเรียน) จำนวน 40 ตัว
12. ระบบการติดตั้งห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ห้อง
ผู้มีสิทธิเสนอราคาจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาซื้อดังกล่าว
2. ไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้รับแจ้งเวียนชื่อแล้ว
3. ไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย เว้นแต่รัฐบาลของ ผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์ความคุ้มกันเช่นว่านั้น
4. ไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นที่เข้าเสนอราคาให้แก่ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา ณ วันประกาศสอบราคา หรือ ไม่เป็นผู้กระทำการอันเป็นการ ขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ในการสอบราคาซื้อครั้งนี้

กำหนดยื่นซองสอบราคาในวันที่ 18 เมายน 2550 ถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2550 ระหว่าง เวลา 8.30 น. ถึงเวลา 16.30 น. ณ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา และกำหนดเปิดซองสอบราคาใน วันที่ 4 พฤษภาคม 2550 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม โดยให้นำของตัวอย่างมาก่อนเวลาเปิดซองสอบราคา มิฉะนั้นจะถือว่าขาดคุณสมบัติเข้าร่วมเสนอราคา
ผู้สนใจติดต่อขอรับเอกสารสอบราคา ได้ที่โรงเรียนวัดดอนมะโนรา ระหว่างวันที่ 18 เมษายน 2550 ถึง วันที่ 2 พฤษภาคม 2550 หรือสอบถามทางโทรศัพท์หมายเลข 034- 769378 ในเวลาราชการ

ประกาศ ณ วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2550


ลงชื่อ เสงี่ยม หวานคำเพราะ
ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนวัดดอนมะโนรา

เอกสารสอบราคาซื้อ เลขที่1/2550
การซื้อครุภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
ตามประกาศ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา
ลงวันที่ 27 มีนาคม 2550
โรงเรียนวัดดอนมะโนรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ซึ่งต่อไปนี้ เรียกว่า “โรงเรียน”) มีความประสงค์จะสอบราคาซื้อ ครุภัณฑ์ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน ตามรายการ ดังนี้
1. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ประมวลผลทั่วไป(สำหรับนักเรียน) จำนวน 20 เครื่อง
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server Computer) จำนวน 1 เครื่อง
3. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ประมวลผลระดับสูง(สำหรับครู ) จำนวน 1 เครื่อง
4. อุปกรณ์กระจายสัญญาณ(Switch) จำนวน 1 ชุด
5. เครื่องสำรองไฟสำหรับเครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง
6. เครื่องสำรองไฟสำหรับเครื่องประมวลผลระดับสูง จำนวน 1 เครื่อง
7. เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์สำหรับเครือข่าย จำนวน 1 เครื่อง
8. โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย(สำหรับครู) จำนวน 1 ตัว
9. เก้าอี้คอมพิวเตอร์(สำหรับครู) จำนวน 1 ตัว
10. โต๊ะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย(สำหรับนักเรียน) จำนวน 20 ตัว
11. เก้าอี้คอมพิวเตอร์(สำหรับนักเรียน) จำนวน 40 ตัว
12. ระบบการติดตั้งห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ห้อง
ซึ่งพัสดุที่จะซื้อนี้ต้องเป็นของแท้ ของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อน ไม่เป็นของเก่าเก็บ อยู่ในสภาพที่จะใช้งานได้ทันที และมีคุณลักษณะเฉพาะตรงตามที่กำหนด ไว้ในเอกสารสอบราคาฉบับนี้ โดยมีข้อแนะนำและข้อกำหนดดังต่อไปนี้
1. เอกสารแนบท้ายเอกสารสอบราคา
1.1 รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ
1.2 แบบใบเสนอราคา
1.3 แบบสัญญาซื้อขาย
1.4 บทหนังสือค้ำประกันหลักประกันสัญญา
1.5 บทนิยาม
(1) ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน
(2) การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม

2
1.6 แบบบัญชีเอกสาร
(1) บัญชีเอกสารส่วนที่ 1
(2) บัญชีเอกสารส่วนที่ 2
2. คุณสมบัติของผู้เสนอราคา
2.1 ผู้เสนอราคาต้องเป็นผู้มีอาชีพขายพัสดุที่สอบราคาซื้อ
2.2 ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ที่ถูกระบุชื่อไว้ในบัญชีรายชื่อผู้ทิ้งงานของทางราชการและได้แจ้งเวียนชื่อแล้ว หรือไม่เป็นผู้ที่ได้รับผลของการสั่งให้นิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของราชการ
2.3 ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น ณ วันประกาศสอบราคาหรือไม่เป็น
ผู้กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ตามข้อ 1.5
2.4 ผู้เสนอราคาต้องไม่เป็นผู้ได้รับเอกสิทธิ์หรือความคุ้มกัน ซึ่งอาจปฏิเสธไม่ยอมขึ้นศาลไทย เว้นแต่รัฐบาล
ของผู้เสนอราคาได้มีคำสั่งให้สละสิทธิ์และความคุ้มกันเช่นว่านั้น
3. หลักฐานการเสนอราคา
ผู้เสนอราคาจะต้องเสนอเอกสารหลักฐานยื่นมาพร้อมกับซองใบเสนอราคา โดยแยกไว้นอกซองใบเสนอราคาเป็น 2 ส่วน คือ
3.1 ส่วนที่ 1 อย่างน้อยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้เสนอราคาเป็นนิติบุคคล
(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
(ข) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ให้ยื่นสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อกรรมการผู้จัดการ ผู้มีอำนาจควบคุม และบัญชีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
(2) ในกรณีผู้เสนอราคาเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ยื่นสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้นั้น สำเนาข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน (ถ้ามี) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็น หุ้นส่วน พร้อมทั้งรับรองสำเนาถูกต้อง
(3) ในกรณีผู้เสนอราคา เป็นผู้เสนอราคาร่วมกันในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสำเนาสัญญาของการเข้าร่วมค้าสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร่วมค้าและในกรณีที่ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาที่มิใช่สัญชาติไทย ก็ให้ยื่นสำเนาหนังสือเดินทาง หรือผู้ร่วมค้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (1)
(4) สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
(5) บัญชีเอกสารส่วนที่ 1 ทั้งหมดที่ได้ยื่นพร้อมกับซองใบเสนอราคา ตามแบบในข้อ (1.6 (1)
3.2 ส่วนที่ 2 อย่างน้อยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) แคตตาล็อกและหรือแบบรูปรายการละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ตามข้อ 4.4
(2) หนังสือมอบอำนาจซึ่งปิดอากรแสตมป์ตามกฎหมายในกรณีที่ผู้เสนอราคามอบอำนาจให้บุคคลอื่น ลงนามในใบเสนอราคาแทน
(3) บัญชีเอกสารส่วนที่ 2 ทั้งหมดที่ได้ยื่นพร้อมกับซองใบเสนอราคา ตามแบบในข้อ 1.6 (2)

4. การเสนอราคา
4.1 ผู้เสนอราคาต้องยื่นเสนอราคาตามแบบที่กำหนดไว้ในเอกสารสอบราคานี้ โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และจะต้องกรอกข้อความให้ถูกต้องครบถ้วน ลงลายมือชื่อของผู้เสนอราคาให้ชัดเจน จำนวนเงินที่เสนอต้องระบุตรงกันทั้งตัวเลขและตัวอักษร โดยไม่มีการขูดลบหรือแก้ไข หากมีการขูดลบ ตกเติม แก้ไข เปลี่ยนแปลงจะต้องลงลายมือชื่อผู้เสนอราคาพร้อมประทับตรา (ถ้ามี) กำกับไว้ด้วยทุกแห่ง
4.2 ผู้เสนอราคาจะต้องเสนอราคาเป็นเงินบาท และเสนอราคาเพียงราคาเดียว โดยเสนอราคารวมและหรือราคา ต่อหน่วย และหรือต่อรายการ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ท้ายใบเสนอราคาให้ถูกต้อง ทั้งนี้ราคารวมที่เสนอจะต้องตรงกันทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ ถ้าตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกันให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญ โดยคิดราคารวมทั้งสิ้นซึ่งรวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีอากรอื่น ค่าขนส่ง ค่าจดทะเบียน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทั้งปวง จนกระทั่งส่งมอบพัสดุให้ ณ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา
ราคาที่เสนอ จะต้องเสนอกำหนดยืนราคาไม่น้อยกว่า 45 วัน นับแต่วันเปิดซองใบเสนอราคา โดยภายในกำหนดยืนราคาผู้เสนอราคาต้องรับผิดชอบราคาที่ตนได้เสนอไว้ และจะถอนการเสนอราคามิได้
4.3 ผู้เสนอราคาจะต้องเสนอกำหนดเวลาส่งมอบพัสดุภายใน 30 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญาซื้อขาย
4.4 ผู้เสนอราคาจะต้องส่งแคตตาล็อก และหรือแบบรูปรายการละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ ไปพร้อม
ใบเสนอราคาเพื่อประกอบการพิจารณา หลักฐานดังกล่าวนี้โรงเรียนจะยึดไว้เป็นเอกสารของทางราชการ
สำหรับแคตตาล็อกที่แนบให้พิจารณา หากเป็นสำเนารูปถ่ายจะต้องรับรองสำเนาถูกต้อง โดยผู้มีอำนาจ ทำนิติกรรมแทนนิติบุคคล หากคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา มีความประสงค์จะขอดู ต้นฉบับแคตตาล็อก ผู้เสนอราคาจะต้องนำต้นฉบับ มาให้คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาตรวจสอบ ภายใน 3 วัน
4.5 ผู้เสนอราคาจะต้องส่งตัวอย่างของพัสดุที่เสนอ ดังนี้
1. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ประมวลผลทั่วไป(สำหรับนักเรียน) จำนวน 1 เครื่อง
2. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server Computer) จำนวน 1 เครื่อง
3. เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ประมวลผลระดับสูง(สำหรับครู ) จำนวน 1 เครื่อง
4. อุปกรณ์กระจายสัญญาณ(Switch) จำนวน 1 ชุด
5. เครื่องสำรองไฟสำหรับเครื่องแม่ข่าย จำนวน 1 เครื่อง
6. เครื่องสำรองไฟสำหรับเครื่องประมวลผลระดับสูง จำนวน 1 เครื่อง
7. เครื่องพิมพ์ชนิดเลเซอร์สำหรับเครือข่าย จำนวน 1 เครื่อง
เพื่อใช้ในการตรวจทดลองหรือประกอบการพิจารณาและหรือประกอบสัญญา ทั้งนี้ โรงเรียน จะไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตัวอย่างดังกล่าว ตัวอย่างที่เหลือ หรือไม่ใช้แล้วโรงเรียนจะคืนให้แก่ผู้เสนอราคา
4.6 ก่อนยื่นซองสอบราคา ผู้เสนอราคาควรตรวจดูร่างสัญญา รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ ฯลฯ ให้ถี่ถ้วน และเข้าใจเอกสารสอบราคาทั้งหมดเสียก่อนที่จะตกลงยื่นซองสอบราคาตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา
4.7 ผู้เสนอราคาจะต้องยื่นซองใบเสนอราคา ที่ปิดผนึกซองเรียบร้อย จ่าหน้าซองถึง ประธานคณะกรรมการ การ เปิดซองสอบราคา โดยระบุไว้ที่หน้าซองว่า “ใบเสนอราคาตามเอกสารสอบราคาเลขที่1/2550” และหลักฐานประกอบการเสนอราคาตามข้อ 3 ยื่นมาพร้อมกับซองใบเสนอราคายื่นต่อหน้าที่พัสดุตั้งแต่ วันที่28 มีนาคม 2550ถึงวันที่ 9 เมษายน 2550 ระหว่างเวลา 8.30 น.ถึงเวลา 16.30 น. ณ โรงเรียนวัดดอนมะโนรา
เมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นซองสอบราคาแล้วจะไม่รับซองสอบราคาโดยเด็ดขาด
คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา จะดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาแต่ละรายว่า เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นตามข้อ 1.5 (1) ณ วันประกาศสอบราคาหรือไม่ และประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาที่มีสิทธิ ได้รับการคัดเลือกก่อนการเปิดซองใบเสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่นตามข้อ 1.5 (1) ณ วันประกาศสอบราคาหรือไม่ และประกาศรายชื่อผู้เสนอราคา ที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกก่อนการเปิดซองใบเสนอราคา
หากปรากฎต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาก่อน หรือในขณะที่มีการเปิดซองใบเสนอราคาว่า มีผู้เสนอราคากระทำการ อันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ตามข้อ 1.5 ( 2 ) และ คณะกรรมการฯ เชื่อว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม คณะกรรมการฯ จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคารายนั้น ออกจากการเป็นผู้เสนอราคา และประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือก และ โรงเรียน จะพิจารณาลงโทษผู้เสนอราคาดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน เว้นแต่ คณะกรรมการฯ จะวินิจฉัยได้ว่าผู้เสนอราคารายนั้น เป็นผู้ที่ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของทางราชการและมิได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทำดังกล่าว ผู้เสนอราคาที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาเพราะเหตุเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน กับผู้เสนอราคารายอื่น ณ วันประกาศสอบราคา หรือเป็นผู้เสนอราคา ที่กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อปลัดกระทรวงภายใน 3 วันนับ แต่วันที่ได้รับแจ้งจากคณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคา การวินิจฉัยอุทธรณ์ของปลัดกระทรวงให้ถือเป็นที่สุด
คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาจะเปิดซองใบเสนอราคา ของผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือก ดังกล่าวข้างต้น ณ ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม ใน วันที่ 10 เมษายน 2550ตั้งแต่ เวลา 13.30 น. เป็นต้นไป
การยื่นอุทธรณ์ตามวรรค 5 ย่อมไม่เป็นเหตุให้มีการขยายระยะเวลาการเปิดซองใบเสนอราคา เว้นแต่ปลัดกระทรวงพิจารณาเห็นว่าการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง และในกรณี ที่ปลัดกระทรวงพิจารณาเห็นด้วย กับคำคัดค้านของผู้อุทธรณ์ และเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซอง ใบเสนอราคาที่ได้ดำเนินการไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ให้ปลัดกระทรวงมีอำนาจยกเลิกการเปิดซองใบเสนอราคาดังกล่าวได้
5. หลักเกณฑ์และสิทธิในการพิจารณาราคา
5.1 ในการสอบราคาครั้งนี้ โรงเรียน จะพิจารณาตัดสินด้วย ราคารวมและราคาต่อหน่วย
5.2 หากผู้เสนอราคารายใดมีคุณสมบัติไม่ถูกต้องตามข้อ 2 หรือยื่นหลักฐานการเสนอราคาไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนตามข้อ 3 หรือยื่นซองสอบราคาไม่ถูกต้องตามข้อ 4 แล้ว คณะกรรมการพิจารณาผลการสอบราคาจะไม่รับพิจารณาราคาของ ผู้เสนอราคารายนั้น เว้นแต่เป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเพียงเล็กน้อย หรือผิดพลาดไปจากเงื่อนไขของเอกสารสอบราคา ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ทั้งนี้เฉพาะในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อ โรงเรียนเท่านั้น
5.3 โรงเรียน สงวนสิทธิไม่พิจารณาราคาของผู้เสนอราคา โดยไม่มีการผ่อนผันในกรณีดังต่อไปนี้
(1) ไม่ปรากฏชื่อผู้เสนอราคารายนั้น ในบัญชีผู้รับเอกสารสอบราคา หรือในหลักฐานการรับเอกสาร สอบราคาของโรงเรียน
(2) ไม่กรอกชื่อนิติบุคคล (บุคคลธรรมดา) หรือลงลายมือชื่อผู้เสนอราคาอย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งหมด ในใบเสนอราคา
(3) เสนอรายละเอียดแตกต่างไปจากเงื่อนไข ที่กำหนดในเอกสารสอบราคาที่เป็นสาระสำคัญ หรือมีผล ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบแก่ผู้เสนอราคารายอื่น
(4) ราคาที่เสนอมีการขูดลบ ตก เติม แก้ไข เปลี่ยนแปลง โดยผู้เสนอราคามิได้ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตรา (ถ้ามี) กำกับไว้ในการตัดสินการสอบราคา หรือในการทำสัญญาคณะกรรมการ การเปิดซองสอบราคาหรือโรงเรียน มีสิทธิให้ผู้เสนอราคาชี้แจงข้อเท็จจริง สภาพ ฐานะ หรือข้อเท็จจริงอื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับผู้เสนอราคาตั้งไว้ โรงเรียนมีสิทธิที่จะไม่รับราคาหรือไม่ทำสัญญา หากหลักฐานดังกล่าวไม่มีความเหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง
5.5 โรงเรียนทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะไม่รับราคาต่ำสุด หรือราคาหนึ่งราคาใดหรือราคาที่เสนอทั้งหมด ก็ได้ และอาจพิจารณาเลือกซื้อในจำนวน หรือขนาด หรือเฉพาะรายการหนึ่งรายการใด หรืออาจจะ ยกเลิกการสอบราคา โดยไม่พิจารณาจัดซื้อเลยก็ได้สุดแต่จะพิจารณา ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของ ทางราชการเป็นสำคัญ และให้ถือว่าการตัดสินของโรงเรียน.เป็นเด็ดขาด ผู้เสนอราคาจะเรียกร้อง ค่าเสียหายใด ๆ มิได้ รวมทั้งโรงเรียนจะพิจารณายกเลิกการสอบราคาและลงโทษผู้เสนอราคา เป็นผู้ทิ้งงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้เสนอราคาที่ได้รับการคัดเลือก หรือไม่ก็ตาม หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่า การเสนอราคากระทำการโดยไม่สุจริต เช่น การเสนอราคาอันเป็นเท็จ หรือใช่ชื่อบุคคลธรรมหรือ นิติบุคคลอื่นมาเสนอราคาแทน เป็นต้น
5.6 ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังจากการเปิดซองสอบราคาว่า ผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามที่ได้ประกาศรายชื่อไว้ ตามข้อ 4.7 เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคารายอื่น ณ วันประกาศสอบราคา หรือเป็นผู้เสนอราคาที่กระทำการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมตามข้อ 1.5 โรงเรียนมีอำนาจที่จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกดังกล่าวออกจากประกาศรายชื่อ ตามข้อ 4.7 และโรงเรียน.จะพิจารณาลงโทษผู้เสนอราคารายนั้นเป็นผู้ทิ้งงานในกรณีนี้หากปลัดกระทรวงพิจารณาเห็นว่า การยกเลิกการเปิดซองใบเสนอราคาที่ได้ดำเนินการไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่ง ปลัดกระทรวงมีอำนาจยกเลิกการเปิดซองใบเสนอราคาดังกล่าวได้
6. การทำสัญญาซื้อขาย
6.1 ในกรณีที่ผู้ชนะการสอบราคา สามารถส่งมอบสิ่งของได้ครบถ้วนภายใน 5 วันทำการของทางราชการ นับแต่ วันที่ทำข้อตกลงซื้อโรงเรียนจะพิจารณาจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือแทนการทำสัญญาตามแบบสัญญา ดังระบุในข้อ 1.3 ก็ได้
6.2 ในกรณีที่ผู้ชนะการสอบราคาไม่สามารถส่งมอบสิ่งของได้ครบถ้วนภายใน 5 วันทำการของทางราชการหรือโรงเรียนเห็นว่าไม่สมควรจัดทำข้อตกลงเป็นหนังสือ ตามข้อ 6.1 ผู้ชนะการสอบราคา จะต้องทำสัญญาซื้อขายตามแบบสัญญาดังระบุในข้อ 1.3 กับโรงเรียนภายใน 5 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งและจะต้องวางหลักประกันสัญญาเป็นจำนวนเงินเท่ากับร้อยละ 5 ของราคา สิ่งของที่สอบราคาได้ให้โรงเรียนยึดถือไว้ในขณะทำสัญญา โดยใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) เช็คที่ธนาคารสั่งจ่ายให้แก่กรรม โดยเป็นเช็คลงวันที่ที่ทำสัญญาหรือก่อนหน้านั้นไม่เกิน 3 วันทำการ ของทางราชการ
(3) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามแบบหนังสือค้ำประกันดังระบุในข้อ 1.4
(4) หนังสือค้ำประกัน ของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือบริษัทเงินทุน หรือบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุน เพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้แจ้งชื่อเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้วโดยอนุโลม ให้ใช้ตามแบบหนังสือค้ำประกันดังระบุในข้อ 1.4
(5) พันธบัตรรัฐบาลไทย หลักประกันนี้จะคืนให้โดยไม่มีดอกเบี้ยภายใน 15 วันนับถัดจากวันที่ผู้ชนะการสอบราคา (ผู้ขาย) พ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาซื้อขายแล้ว
7. อัตราค่าปรับ
ค่าปรับตามแบบสัญญาซื้อขายคอมพิวเตอร์ ข้อ 15 ให้คิดในอัตราร้อยละ 0.2 ต่อวัน
8. การรับประกันความชำรุดบกพร่อง
ผู้ชนะการสอบราคาซึ่งได้ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ หรือทำสัญญาซื้อขายตามแบบดังระบุในข้อ 1.3 แล้วแต่ กรณี จะต้องรับประกันความชำรุดบกพร่องของสิ่งของที่ซื้อขายที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า ที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะ นับถัดจากวันที่ผู้ซื้อรับมอบ โดยผู้ขายต้องรีบจัดการซ่อมแซมแก้ไขให้ใช้การได้ดีดังเดิม ภายใน 2 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับแจ้งความชำรุดบกพร่อง
9. ข้อสงวนสิทธิในการเสนอราคาและอื่น ๆ
9.1 เงินค่าพัสดุสำหรับการซื้อครั้งนี้ได้มาจากเงินงบประมาณประจำปี 2550
การลงนามในสัญญาจะกระทำได้ต่อเมื่อโรงเรียนได้รับอนุมัติเงินประจำงวด หรือได้รับอนุมัติให้ใช้เงินเพิ่มเติมหรือสมทบ หรือได้รับอนุมัติให้ใช้เงินบำรุงการศึกษา หรือได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการแล้วเท่านั้น
9.2 เมื่อโรงเรียนได้คัดเลือกผู้เสนอราคารายใด ให้เป็นผู้ขาย และได้ตกลงซื้อสิ่งของตามสอบราคาซื้อแล้ว ถ้าผู้ขายจะต้องสั่งหรือนำสิ่งของดังกล่าว เข้ามาจากต่างประเทศ และของนั้นต้องนำเข้ามาโดยทางเรือ ในเส้นทาง ที่มีเรือไทย และสามารถให้บริการรับขนได้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประกาศกำหนด ผู้เสนอราคา ซึ่งเป็นผู้ขายจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี ดังนี้
(1) แจ้งการสั่งหรือนำสิ่งของที่ซื้อขายดังกล่าวเข้ามาจากต่างประเทศต่อสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือซื้อของจากต่างประเทศเว้นแต่เป็นของที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศยกเว้นให้บรรทุกโดยเรืออื่นได้
(2) จัดการให้สิ่งของที่ซื้อขายดังกล่าวบรรทุกโดยเรือไทย หรือเรือที่มีสิทธิเช่นเดียวกับเรือไทยจากต่างประเทศมายังประเทศไทย เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีให้บรรทุกสิ่งของนั้น โดยเรืออื่นที่มิใช่เรือไทย ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตเช่นนั้นก่อนบรรทุกของลงเรืออื่น หรือเป็นของที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมประกาศยกเว้นให้บรรทุกโดยเรืออื่น
(3) ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม (1) หรือ (2) ผู้ขายจะต้องรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพาณิชยนาวี
9.3 ผู้เสนอราคาซึ่งโรงเรียนได้คัดเลือกแล้วไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลงภายในเวลาที่ทางราชการกำหนด ดังระบุไว้ในข้อ 6.2 โรงเรียนจะพิจารณาเรียกร้องให้ชดใช้ความเสียหายอื่น (ถ้ามี) รวมทั้งจะพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานตามระเบียบของทางราชการ
9.4 สำนักงานสงวนสิทธิที่จะแก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไข หรือข้อกำหนดในแบบสัญญาให้เป็นไปตามความเห็น ของสำนักงานอัยการสูงสุด (ถ้ามี)
10. เอกสารแนบท้ายประกาศถือเป็นส่วนหนึ่งของประกาศสอบราคาฉบับนี้